ประวัติสมาคมจดหมายเหตุไทย ในโอกาสครบรอบ ๒๐ ปี

 

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย
องคมนตรี / ผู้จุดประกายการจัดตั้งสมาคมจดหมายเหตุไทย

ยุคนี้เป็นยุคการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วไม่ว่าเทคโนโลยีที่เข้ามารวมทั้งวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ผมคิดว่ายิ่งสะท้อนความสำคัญของประวัติศาสตร์ก็ดีหรือว่าจดหมายเหตุ ถ้าพูดแล้วอยากจะเชิญชวนทุกภาคส่วนมาให้ความสนใจเรื่องจดหมายเหตุ…ต้องมีอะไรที่เป็น Historical record เป็นการจดจารทางประวัติศาสตร์จากคนก็ดี จากเหตุการณ์ก็ดีจากอะไรต่อมิอะไรต่างๆ อันนี้ผมคิดว่าสำคัญ

อ่านต่อ


ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
ผู้ก่อตั้งสมาคมจดหมายเหตุไทย / นายกสมาคมจดหมายเหตุไทยคนแรก

กรณีของจดหมายเหตุอาจจะบริการคนซึ่งต้องการความลุ่มลึก ต้องการอะไรซึ่งละเอียดถี่ถ้วนมากๆ เพราะฉะนั้นในตอนหลัง นักวิชาการก็ดี อาจารย์ก็ดี ผู้เขียนวิทยานิพนธ์ก็ดี เขาจึงไปพึ่งหอจดหมายเหตุสำคัญๆ ในต่างประเทศ อย่าง Library of Congress หรือหอจดหมายเหตุของอเมริกา ของฝรั่งเศส ของอังกฤษ อันนี้ยิ่งเปิดโลกกว้างใหญ่เลย เพราะฉะนั้นในแง่นี้มันแปลว่า ถ้าเราสามารถจะผลักดันให้กิจการจดหมายเหตุของเรามีความเป็นสากลมากขึ้นๆ มันจะช่วยเกี่ยวกับเรื่องสติปัญญาของสังคมผมเชื่อว่าอย่างนั้น

อ่านต่อ


ธงชัย ลิขิตพรสวรรค์
ผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมจดหมายเหตุไทย / นายกสมาคมจดหมายเหตุไทย

วิชาจดหมายเหตุในประเทศไทยเป็นวิชาที่เริ่มต้นยังต้องมีการพัฒนาต่อไปอีกเยอะ และอย่าคิดว่าการที่จะลุกขึ้นมาทำเอกสารจดหมายเหตุเป็นเรื่องของรัฐบาล เป็นเรื่องของรัฐมนตรี เป็นเรื่องของอธิบดี  จริงๆ แล้วการทำจดหมายเหตุเป็นเรื่องของทุกคน ไล่มาตั้งแต่กระทรวง กรมต่างๆ  ฝ่ายต่างๆ จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ลงไปถึงครอบครัว ครอบครัวใครครอบครัวเขา ก็มีจดหมายเหตุเป็นของตัวเองลายมือพ่อแม่ รูปถ่ายเก่าของบรรพบุรุษ

อ่านต่อ


รองศาสตราจารย์ ดร.สมสรวง พฤติกุล
ผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมจดหมายเหตุไทย / อดีตอุปนายกสมาคมจดหมายเหตุไทย

ปัจจุบันเริ่มใช้เทคโนโลยีกันมากขึ้นจะทำให้เกิดเอกสารที่เรียกว่าเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมาหรือเอกสารดิจิทัล ซึ่งถ้าหากไม่มีการวางแผนอย่างเป็นระบบเพื่อการจัดการ การจัดเก็บ สิ่งที่มีคุณค่าไว้ไม่นานเอกสารที่มีคุณค่าเหล่านี้จะสูญหายไป อันนี้ที่ดิฉันเป็นห่วง อยากให้แต่ละหน่วยงานตระหนักถึงตรงนี้ด้วย

อ่านต่อ


กรรณิกา ชีวภักดี
ผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมจดหมายเหตุไทย /
อดีตผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุกรมประชาสัมพันธ์

นักจดหมายเหตุเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับดิจิทัลแล้ว ท่านยังต้องส่งความรู้เหล่านี้ออกสู่ประชาชน อีกหน่อยก็ไม่ได้ทำงานเฉพาะกับนักจดหมายเหตุระดับองค์กรเท่านั้น แต่เป็นภาคประชาชนที่เราจำเป็นจะต้องเผยแพร่การจัดเก็บเพื่อให้สิ่งที่ผลิตเป็นจดหมายเหตุได้อย่างสมบูรณ์ และทำอย่างไรนักจดหมายเหตุถึงจะแยกกากเอาแก่นออกมาได้เพราะข้อมูลหลากหลายทั่วทิศทั่วทางมาก

อ่านต่อ


สุรีย์รัตน์ วงศ์เสงี่ยม
ผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมจดหมายเหตุไทย / อดีตผู้อำนวยการสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

อยากให้มีงานต่างๆ ที่จะเผยแพร่เอกสารจดหมายเหตุหรืองานจดหมายเหตุให้กว้างขวางยิ่งขึ้น อยากให้นักเรียน นักศึกษา ประชาชนได้รู้และเข้าใจถึงคุณค่าของเอกสารจดหมายเหตุ ให้เข้ามาใช้กันมากๆ ได้ศึกษาได้เรียนรู้แหล่งประวัติศาสตร์ที่สำคัญ เพราะเอกสารจดหมายเหตุถือว่าเป็นความรู้ที่จะทำให้ประชาชนหรือนิสิตนักศึกษาได้เรียนรู้อดีตของตัวเอง จะมีความรักความเข้าใจในบรรพบุรุษของเรา ที่ได้สร้างสรรค์งานที่ออกมาในรูปเอกสาร อยากให้มีความซาบซึ้งและเข้าใจและได้ใช้ประโยชน์มากยิ่งขึ้นและกว้างขวางยิ่งขึ้น

อ่านต่อ


วนิดา จันทนทัศน์
ผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมจดหมายเหตุไทย /
อดีตเลขานุการโครงการจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สมาคมจดหมายเหตุไทยตั้งมา ๒๐ ปี อยากให้สมาคมนี้เป็นองค์กรนี้เป็นองค์กรวิชาชีพ ช่วยสนับสนุน เป็นตัวอย่างของการจัดทำมาตรฐานจดหมายเหตุ ระบบจัดเก็บเอกสารซึ่งเป็นสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญในการบริหารงานไม่ว่ารัฐหรือเอกชน ถ้าเรามีระบบจัดเก็บเอกสารดีเป็นระบบ ทำให้เราสามารถรู้ที่มาที่ไปขององค์กรที่เราเป็นอยู่ เป็นสิ่งที่ช่วยในการบริหารงานของหน่วยงานทั้งหลายจะได้มีสิ่งที่อ้างอิงและวางแผนในอนาคตต่อไปได้ด้วย

อ่านต่อ


นัยนา แย้มสาขา
อดีตผู้อำนวยการสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ / อดีตที่ปรึกษาสมาคมจดหมายเหตุไทย

คาดหวังว่า องค์กรนี้จะเป็นองค์กรเอกชน ที่เป็นที่ชุมนุม เป็นชุมชนของนักวิชาชีพจดหมายเหตุที่เข้มแข็งองค์กรหนึ่ง ที่มุ่งมั่นและประสานความร่วมมือ การนำชุมชนวิชาชีพจดหมายเหตุของไทย ให้ก้าวไปเคียงบ่าเคียงไหล่กับชุมชนวิชาชีพจดหมายเหตุของนานาชาติ เพื่อเผยแพร่ความรู้และความสำคัญในเอกสารจดหมายเหตุ ให้สังคมได้รู้จักกันอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นและตระหนักในความสำคัญ อันนี้สำคัญมาก

อ่านต่อ


จุฑาทิพย์ อังศุสิงห์
อดีตผู้อำนวยการสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

นักจดหมายเหตุในแง่ของวิชาการ ถ้าเป็นวิชาการจดหมายเหตุสมัยก่อน สมัยนี้ไม่มีความแตกต่างกัน หลักการของงานจดหมายเหตุยังเป็นหลักการของงานจดหมายเหตุอยู่อย่างนั้น แต่ว่าสมัยก่อนกับสมัยนี้ถ้าต่างกัน เป็นเรื่องของสื่อ เรื่องของบริบททางสังคม ซึ่งต้องยอมรับว่า ๒๐-๓๐ ปี ที่ผ่านมาบริบททางสังคมมันเปลี่ยนไป สื่อโซเชียล  ลักษณะของเอกสารมีความเปลี่ยนไป เพราะฉะนั้นถ้ามองอดีตกับปัจจุบันหลักการคงเดิมแต่สิ่งที่เปลี่ยนไป การประชาสัมพันธ์ การดำเนินงานเชิงรุก หรือแม้แต่การเข้าถึงเอกสารเปลี่ยนไป ตรงนี้ต้องปรับตัวให้ทันสมัยขึ้น ต้องเข้าถึงให้มากขึ้น ต้องพร้อมในเรื่องของการบริการมากขึ้นกว่าเดิม

อ่านต่อ


นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช
ผู้อำนวยการหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ

งานจดหมายเหตุไทยควรจะเป็นอย่างไรกันแน่  อันนี้ผมก็อยากจะขอฝากไปยังสมาคมฯ เพื่อขบคิด เพราะว่าจริง ๆ แล้วโลกเปลี่ยนมาก … โดยเฉพาะที่เรามีเครื่องมือที่เรียกว่าเป็นโปรแกรมเป็นเรื่องของระบบไอทีเข้ามา หรือที่เขาเรียกว่า records and information management ผมว่ามันก้าวไกลไปมาก tools ที่จะใช้ในเรื่องนี้มันเยอะหมดเลย  เพราะฉะนั้นผมคิดว่า งานจดหมายเหตุของไทยทำอย่างไรให้มันเกิดขึ้นท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ของระบบไอที และ information system

อ่านต่อ


 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *